รู้จักสังเกต 'Mouthfeel' เพื่อการเข้าถึงกาแฟที่มากกว่า

โดย Admin Pitbull Coffee 12/1/2564 เวลา 09:30 น.

ไม่เพียงแต่กลิ่นและรสชาติอันเป็นอาวุธหลักแล้ว ความไม่ซ้ำซากจำเจก็ยังพาเราเพลิดเพลินไปกับเรื่องราวที่มาของกาแฟที่แต่ละตัวที่ซ่อนความแตกต่างและหลากหลาย และจะสนุกแค่ไหน หากระหว่างการดื่มกาแฟแต่ละแก้ว เราสามารถบรรยายรสชาติของกาแฟได้มากกว่าแค่ 'ขม' วันนี้เราจะว่ากันในเรื่องที่คอกาแฟทุกคนต้องรู้จักนั่นคือ 'body' หรือ 'mouthfeel' หรือคำในภาษาไทยน่าจะแปลให้เห็นภาพที่สุดก็คือ 'เนื้อสัมผัส'


 

อะไรคือนิยามของ 'mouthfeel' ในโลกของกาแฟ

.

ก่อนจะข้ามไปที่ประเด็นของบอดี้กาแฟ เมื่อถึงเวลาที่จะต้องชิมและอธิบายถึงกาแฟสักตัวหนึ่ง การที่เราจะเข้าถึงกาแฟให้ใกล้ชิดมากที่สุดเราจะต้องพิจารณากันตั้งแต่กลิ่นของกาแฟ (aroma) ทั้งตอนที่ยังไม่ถูกชงและถูกชง เมื่อดื่มไปเราก็จะไปเจอกับรสชาติ (flavour) ที่แฝงหลายรสชาติในความลมกล่อมเดียว มีทั้งความหวาน (sweetness) ความเปรี้ยวหรือความเป็นกรด (accidity) ความขม (bitterness) และความเค็ม (saltiness) นอกจากนี้ก็จะเป็นเรื่องของ aftertaste หรือสิ่งที่กาแฟทิ้งไว้ในช่องปากและลำคอ

.

หากจะนิยาม 'mouthfeel' หรือ 'body' ให้เห็นภาพก็แปลให้ตรง ๆ เลยว่า 'สิ่งที่ปากเรารู้สึกได้' ขณะที่น้ำกาแฟอยู่ในปาก จุดประสงค์ก็มีไว้เพื่ออธิบายความรู้สึกของเราที่ได้รับจากตอนที่น้ำกาแฟสัมผัสกับช่องปากและลิ้นจนกระทั่งตอนที่เรากลืนลงไปแล้ว หลายตำราอาจจะให้ความหมายกับคำ ๆ นี้ว่าเป็น 'ความรู้สึกต่อกาแฟที่จับต้องได้' (the tactile feeling of a coffee)

.

บางครั้งเราก็เรียกบอดี้ได้ว่าเป็น 'ความหนัก' ของกาแฟ ตัวอย่างเช่น 'light' / 'heavy' / 'smooth' ก็เป็นหนึ่งในหลายตัวอย่างของคำอธิบายความหนักของกาแฟ คราวนี้เราเริ่มรู้แล้วว่า 'mouthfeel' เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เราสามารถคอยสังเกตและพยายามเรียนรู้ได้จากกาแฟทุกแก้วที่เราดื่ม และอย่างที่เราย้ำกันเสมอ กาแฟแต่ละตัวมีความโดดเด่นและสวยงามในแบบของตัวเอง กาแฟแต่ละตัวก็ให้อารมณ์และความรู้สึกที่แตกต่างกันไป ดังนั้นหากจะเลือกกาแฟดื่มสักตัว การได้รู้ว่าเมนูหรือกาแฟนั้นมีความหนักอย่างไรก็จะช่วยให้เราตามหารสชาติที่เราต้องการได้ง่ายขึ้น
ขอบคุณBean to brew

www.pitbullcoffee.com

สาระน่ารู้เกี่ยวข้อง